วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551


...ว่านหางจระเข้ ...

ชื่อวิทยาศาสตร์Aloe vera Linn. var. chinensis (Haw.) Berg
วงศ์ALOACEAE
ลักษณะไม้ล้มลุม อายุหลาสยปี สูง 0.5 - 1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5 - 12 ซม. ยาว 0.3 - 0.8 เมตร อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใสใต้ผิวสีเขียว มีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อย เป็นหลอด ห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้


สารสำคัญสารที่ออกฤทธิ์ เป็นสาร กลัยโคโปรตีน ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มหารเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่าย เมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง
ส่วนที่ใช้ วุ้นจากใบ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงอายุ 1 ปี
รสและสรรพคุณยาไทยรสจืดเย็น โบราณใช้ทาปูนแดงปิดขมับแก้ปวดศีรษะ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
วิธีใช้ใช้วุ้นรักษาแผลสด แผลเรื้อนัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และการฉายรังสี โดยเลือกวุ้น จากใบที่อยู่ส่วนล่างของต้น ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างยางสีเหลืองออกให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุก หรือน้ำด่างทับทิม เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใส หรือฝานเป็นแผ่นบาง มาพอกแผล แล้วใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ ให้ชุ่มอยู่ตลอดเวลาในชั่วโมงแรก ต่อจากนั้นทาวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าแผลจะหาย วุ้นว่านหางจระเข้ยังสามารถ ใช้รักษาฝีพุพอง ได้ด้วย เพราะช่วยลดการอักเสบ

ข้อควรระวัง
1) ก่อนใช้ว่าน ควรทดสอบการแพ้ก่อน โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้
2) ควรล้างยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะจะเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวได้





ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn.
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อท้องถิ่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้หมิ้น หมิ้น (ใต้) ตายอ (กะเหรียง-กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 30 - 90 ซม. เหง้าใต้ดินส่วนตรงกลางมีขนาดใหญ่รูปไข่ มีแขนงรูปทรงกระบอก แตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงข้ามกันคล้ายนิ้วมือ เนื้อในเหง้าสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงเป็นวงซ้อนทับกัน รูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบรูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน หรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผลเป็นผลแห้ง รูปกลม มี 3 พู


สารสำคัญมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 3-4% และ เคอร์คิวมิน (Curcumin) ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า bis-(4-hydroxy-3-methoxycinnamoyl)-methane, sodium curcuminate ฤทธิ์แก้ท้องอืดเกิดจากน้ำมันหอมระเหย เคอร์คิวมิน และสารอื่นๆ อีกหลายชนิด พบว่า เคอร์คิวมิน มีฤทธิ์ ยับยั้งการเจริญเติบโต และลดการใช้กลูโคสของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ จึงลดการเกิดก๊าซลงด้วย พบว่า เคอร์คิวมิน และ p-tolyl methyl-carbinol สามารถเพิ่ทเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร และขับน้ำดี และ เคอร์คิวมิน น่าจะป็นสารออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่ง secretin และ gastrin ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้มี การหลั่งน้ำดีมากขึ้นด้วย เป็นผลให้การย่อยอาหารดีขึ้น ยังพบว่า เคอร์คิวมิน, p-coumaaroyl feruloyl methane และ di-p-coumaroyl methane มีฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบเนื่องจากสารพิษ ด้วย จะเห็นว่าฤทธิ์ในการรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้องของขมิ้นชัน เกิดจากสารสำคัญหลายชนิด และกลไกหลากหลาย

ข้อควรระวัง
- ไม่ควรชื้อผงขมิ้นชันตามท้องตลาด ควรทำเอง เพราะขมิ้นผงที่ขายในท้องตลาดส่วนมากทำจากขมิ้นอ้อย และกรรมวิธีในการทำมักใช้ความร้อน ซึ่งจะทำให้น้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์รักษาโรคระเหยไป - บางคนอาจแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นใส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยาในทันที
ส่วนที่ใช้ เหง้าสดและแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเมื่อขมิ้นอายุราว 7-9 เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม ท้องร่วง รักษาโรคกระเพาะอาหาร
วิธีใช้ ขมิ้นชันใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารโดยการใช้เหง้าแก่สด ล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดประมาณ 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูล เก็บไว้ในขวดสะอาดและมิดชิด รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน


ขิง Ginger


ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rosc.

วงศ์ ZINGIBERACEAE

ชื่อทั่วไป ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทรบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ(แม่ฮ่องสอน), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง), เกีย(จีนแต้จิ๋ว)

ลักษณะไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แตกสาขา คล้ายนิ้วมือ เป็นแง่ง แทงหน่อ หรือลำต้นเทียม ซึ่งเกิดจากก้านใบที่มีลักษณะเป็นกาบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 1.5 - 2 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. ดอกช่อ แทงจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสี้ขียวอ่อน ผลเป็นผลแห้ง มี 3 พู
สารสำคัญมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 7.28% ประกอบด้วย methol, borneol, zingiberene, fenchone, 6-shogoal, และ 6-gingerol เป็นยาขับลมเพราะมีน้ำมันหอมระเหย สาร methol มีฤทธิ์ขับลม ส่วน borneol, fenchone และ 6-gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน นอกจากนี้สารที่มีรสเผ็ดได้แก่ 6-shogoal, และ 6-gingerol ทำให้ลำไส้เพิ่มการเคลื่อนไหว จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง ต่อมาพบว่า zingiberene, และ 6-gingerol สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

ข้อควรระวังการใช้น้ำสกัดจากขิงที่เข้มข้นมากๆ จะให้ผลตรงข้าม คือ จะไประงับการบีบตัวของลำไส้จนทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว ดังนั้นการดื่มน้ำที่สกัดจากขิงไม่ควรใช้น้ำเข้มข้นมากเกินไป เพราะจะไม่ให้ผลในการรักษาตามที่ต้องการส่วนที่ใช้ เหง้าแก่สด ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา รสและสรรพคุณยาไทย รสหวาน เผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน รักษาอาการไอ

วิธีใช้ เหง้าขิงแก่ใช้เป็นยารักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากธาตุไม่ปกติ เมารถเมาเรือ โดยใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม การใช้ขิงรักษาอาการไอ มีเสมหะ ใช้เหง้าขิงแก่ผสมกับน้ำมะนาว หรือ ใช้เหง้าขิงสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำแทรกเกลือนิดหน่อยใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ นำเหง้าขิงแก่สด 50 กรัม ทุบให้แตก นำไปต้มกับน้ำ 2 แก้ว รินดื่มแต่น้ำ วันละ 3 ครั้ง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ท้องผูก ขับลม คลื่นไส้อาเจียน และอาการเมารถเมาเรือ ใช้เหง้าขิง น้ำตาลทรายแดง และพุทราแห้ง ต้มดื่มวันละครั้ง

-แก้ปวดกระเพาะอาหาร ใช้เหง้าสดนำมาผิงไฟให้อุ่น ตำพอกบริเวณที่ผมร่วง หัวเริ่มล้าน วันละ 2 ครั้ง ประมาณ 3 วัน ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้พอกต่อไปสักระยะ ใช้ขิงสดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำผึ้ง คนให้เข้ากัน ทำเป็นน้ำขิงสดรับประทาน แก้สะอึก นำขิงแก่มาปอกเปลือกฝานเป็นชิ้นบางๆ นำไปตากในที่ร่มจนแห้ง ( 2 วัน) เอาขิงแห้ง 3 กรัม ไปต้มกับน้ำ 1 แก้วจนเดือด เป็นเวลา 3 นาที เอาเฉพาะส่วนน้ำมาเติมน้ำตาลทรายขาว ช่วยขับเหงื่อ นำขิง พริกไทย ใบกะเพรา ไพล มาบดผสมกันรับประทาน แก้ตานขโมย ใช้ลำต้นที่แก่สดทุบแตกประมาณ 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ร้อนใน ใช้ขิงฝานเป็นแผ่นบาง ๆ นำมาวางทับบริเวณที่ถูกแมงมุมกัด แผลที่บีบน้ำเหลืองออก ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไป ครึ่งแก้ว ปิดฝาตั้งไว้ 5 นาที รินเอาแต่น้ำดื่ม ระหว่างอาหารแต่ละมื้อ หรือ นำเหง้าขิงมาฝานเป็นแผ่นจิ้มเกลือ รับประทาน แก้ไอ ใช้เหง้าขิงแก่มาทุบ คั้นเอาแต่น้ำขิง ทารักแร้เป็นประจำจะช่วยกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนา กำจัดกลิ่นรักแร้ ใช้เหง้า 1 หัว เอามาเผาจนผิวนอกเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออก เผาและปาดไปเรื่อยๆ นำผงถ่านที่ได้ผสมกับน้ำดีหมูใช้ทาบริเวณที่เป็น แผลเริมบริเวณหลัง ฟกช้ำจากการหกล้ม หรือกระทบกระแทก ให้ใช้เหง้าสดมาตำกับเหล้าพอก หรือใช้น้ำคั้นจากใบสด 1 ถ้วย ตังกุย 100 กรัม บดเป็นผงผสมกับเหล้ากินติดต่อกันประมาณ 3 วัน หนังมือลอกเป็นขุย ให้ใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น นำมาแช่เหล้า 1 ถ้วยชา ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง เอาแผ่นขิงที่ผ่านการแช่มาถูกทาตามบริเวณที่เป็น วันละ 2 ครั้ง นำขิงแก่ขนาดประมาณหัวแม่มือ ทุบให้แตก หั่นเป็นแว่นต้มน้ำ 1 แก้ว ใช้ไฟอ่อนๆ ต้มน้ำให้เดือดนาน 5 นาที เสร็จแล้วตักขิงออก เติมน้ำเพิ่มเล็กน้อย ดื่มขณะยังอุ่น ทำอย่างนี้ 3 เวลา เช้า - กลางวัน - เย็น แก้หวัด
สมุนไพรไทย ฟ้าทะลายโจร
สรรพคุณของฟ้าทะลายโจรคือ แก้ไข้ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย ซึ่งนิยมใช้กันมาก เพราะใข้แล้วได้ผลดี
วิธีทำยาฟ้าทะลายโจรแบบง่ายๆซึ่งสามารถทำได้เองโดยไม่ยุ่งยาก ลักษณะฟ้าทะลายโจรเป็นพืชล้มลุกจะปลูกได้ง่ายในฤดูฝน เป็นพืชที่มีรสขมโดยเราจะเก็บใบฟ้าทะลายโจรมาโดยจะเริ่มเก็บในช่วงที่เริ่มออกดอกเพราะจะมีตัวยาสะสมในใบเยอะ อายุในการปลูกต้นฟ้าทะลายโจรใช้เวลาประมาณ 3 เดือนจึงจะเริ่มออกดอก นำใบมาล้างให้สะอาดแล้วนำมาผึ่งลมให้แห้ง โดยการผึ่งลมในที่มีอากาศโปร่ง ห้ามนำไปตากแดดโดยตรงเพราะความร้อนจะทำให้สูญเสียตัวยาไปได้นำใบมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ่งในอัตราส่วน 1:1 แล้วทำเป็นลูกกลอนเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งลมในที่โปร่งให้แห้ง แล้วนำไปเก็บไว้ในขวดที่แห้งปิดมิดชิดหากมีตัวป้องกันความชื้นใส่ในขวดด้วยจะช่วยยืดอายุของยาได้นานขึ้นการรับประทาน รับประทานครั้งละ 3 เม็ดวันละ 4 เวลาในช่วงก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นเวลานานประมาณ 7 วันการทานแบบใบสดให้นำใบมา 1-3 กำมือต้มกับน้ำสะอาด ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้งแต่รสชาติของยาจะค่อนข้างขมหน่อยผลข้างเคียงจากยา โดยปกติแล้วจะไม่ค่อยพบผลข้างเคียง
ข้อควรระวังจากเอกสารวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ว่า
- ในบางคนอาจมีอาการ ปวดท้อง ปวดเอว เวียนศีรษะ แสดงว่าอาจเนื่องมา จากการแพ้ยา ให้หยุดยาฟ้าทะลายโจร เปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นแทน
- การเตรียมยาในลักษณะลูกกลอนหรือยาดองเหล้าไม่ควรเก็บไว้นานเกินกว่า 3 เดือนเพราะยาจะเสื่อมคุณภาพ
- ไม่ควรรับประทานยาฟ้าทะลายโจรติดต่อกันนานเกินไป เพราะฟ้าทะลายโจร เป็นยาเย็น การรับประทานนานเกินไปจะเกิดอาการมือเท้าชา อ่อนแรงได้

มะกรูด





มะกรูด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ RUTACEAE
ชื่อสามัญ Leech Lime, Mauritius Papeda, Kaffir Lime, Porcupine Orange
ชื่อท้องถิ่น ภาคเหนือ เรียก มะขูด, มะขุน ภาคใต้ เรียก ส้มกรูด, ส้มมั่วผี เขมร เรียก โกร้ยเขียด กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก มะขู


ลักษณะทั่วไป มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดียว สีเขียวหนา มีลักษณะคอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน ใบสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ดอก ออกเป็นกระจุก 3–5 ดอก กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย ผล มีหลายแบบแล้วแต่พันธุ์ผลเล็กเท่ามะนาว ผิวขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่หัว
การปลูก มะกรูดปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณทางยา
ผิวผลสดและผลแห้ง รสปร่า หอมร้อน สรรพคุณแก้ลมหน้ามืด แก้วิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมลำไส้ ขับระดู ผล รสเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต ใช้สระผมทำให้ผมดกดำ ขจัดรังแค ราก รสเย็นจืด แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะ แก้ลมจุกเสียด น้ำมะกรูด รสเปรี้ยว กัดเสมหะ ใช้ดองยามีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิตสำหรับสตรี
ใบ รสปร่าหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน และดับกลิ่นคาว คติความเชื่อ มะกรูดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้อยู่อาศัย จะได้มีความสุข และในบางตำราว่าเป็นความเชื่อของคนบ้านป่า ที่เดินทางด้วยเกวียนเทียม โคหรือกระบือเมื่อได้กลิ่นสาบเสือ จะหยุดเดิน เจ้าของจะต้องขูดผิวมะนาวหรือมะกรูด ป้ายจมูกให้ดับกลิ่นสาบเสือก่อน โค กระบือจึงจะเดินต่อไป ดังนั้นการเดิน ทางสมัยก่อนผ่านป่า ผู้เดินทางจึงมักจะพกพามะนาว และมะกรูดติดตัวไปด้วยเสมอ ในพิธีกรรมการทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ สำหรับพรมหรืออาบผู้ป่วยใบมะกรูดเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้ โดยใช้ร่วมกับใบส้มป่อย ใบเงินใบทอง ใบมะตูม หญ้าแพรก หมากผู้หมากเมีย ใบราชพฤกษ์ เชื่อกันว่าใบจากต้นไม้มงคลเหล่านี้จะช่วยปัดเป่าและบรรเทาเคราะห์โศกลงไปได้



ไข่ยัดไส้

เครื่องปรุงโดยประมาณ สำหรับรับประทาน 2 คน
1. หมูสับ 60 กรัม
2. กุ้งสับ 40 กรัม
3. กระเทียมกลีบเล็ก 2-3 กลีบ
4. แครอท 1 หัว
5. มะเขือเทศ 1 ลูก
6. พริกหวานสีเขียว 1/4 ลูก
7. หอมหัวใหญ่ 1/2 หัว
8. ซอสมะเขือเทศ 2 ชต.
9. น้ำปลา 1 ชต.
10. น้ำมันหอย 1 ชต.
11. พริกไทยป่น
12. น้ำมันพืช
13. ไข่ไก่ 2 ฟอง
วิธีทำ
1. กระเทียมปอกเปลือก ตำหรือสับละเอียด หั่นแครอท พริกหวาน หอมหัวใหญ่ และมะเขือเทศเป็นลูกเต๋าเล็กๆ เอาไว้ค่ะ
2. กระทะตั้งไฟกลาง ใส่น้ำมันพืชลงไป พอน้ำมันร้อนใส่กระเทียมเจียวพอหอม นำหมูลงผัด พอหมูเปลี่ยนสี ใส่กุ้งสับลงไปคนๆ หน่อย ก็ใส่ผักที่หั่นไว้ลงไปคนให้เข้ากัน
3. ใส่ซอสมะเขือเทศ น้ำปลา น้ำมันหอยและพริกไทย ชิมรสตามชอบ คนเป็นระยะประมาณ 4-5 นาที พอมะเขือเทศเปื่อยดีก็ตัก ออกใส่ถ้วย พักไว้ก่อน
4. นำไข่มาตีพอเข้ากัน แล้วนำกระทะอีกใบตั้งไฟกลางค่อนข้างอ่อน ทาน้ำมันพืชบางๆ ให้ทั่วกระทะ พอร้อนก็ใส่ไข่ลงไป เอียง กระทะวนไปเรื่อย ๆ จนไข่เป็นแผ่นบาง ๆ เต็มกระทะ พอไข่สุกและขอบเริ่มร่อนออกจากกระทะ ก็ใส่ไส้ที่ผัดเตรียมไว้ลงไป พับ แผ่นไข่ทั้งสี่ด้านเข้าหากัน ตักใส่จาน

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ตะไคร้
ชื่อวิทย์ Cymbopogon citratus Stapt
ชื่อวงศ์ GRAMINAE
ชื่ออื่น จะไคร(เหนือ), ไคร(ใต้), คาหอม(แม่ฮ่องสอน), หัวสิงโต(เขมรปราจีณ บุรี)

สรรพคุณ
ใบต้น เหง้าทั้งต้น หอมปร่า, ลดความดันโลหิต รสหอมปร่า ขับลม แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่ว ดับกลิ่นคาวเจริญอาหารรสหอมปร่า แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุ แก้กระษัย ขับลมใน ลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่วรสหอมปร่า แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ


ความลับของตะไคร้
๑. แก้ปวดมวนท้องไส้ ตะไคร้ ๓ ต้น ตัดต้นตัดใบดอกออก ล้างให้ สะอาด คั้นน้ำดื่มสัก ๑ ถ้วยตะไล
๒. ขับปัสสาวะ ตะไคร้ ๓ ต้นคั้นน้ำดื่ม ๑ ถ้วยตะไล ดื่มเช้าเย็น อาการ ปัสสาวะ ไม่ปกติจะทุเลาลง
๓. ขับลมในลำไส้ เอาตะไคร้มาโขลกคั้นน้ำดื่ม
๔. บำรุงไฟธาตุ ไฟธาตุไม่ดีพอ อึดอัดท้องไส้ ระบบทางเดินอาหารไม่ ปกติ(ไฟธาตุพิการ) เอาน้ำตะไคร้คั้นน้ำดื่ม ๑ ถ้วยตะไล หรือใช้ตะไคร้ต้ม กับน้ำดื่ม เช้า กลางวัน เย็น ไฟธาตุจะทำงานได้ตามปกติ
๕. เจริญอาหาร เอาตะไคร้สัก ๕ ต้น ล้างสะอาดทุบพอแตกต้มน้ำดื่ม ก่อนอาหาร เช้า เย็น จะหายจากการเบื่ออาหาร
๖. แก้โรคหืด ตะไคร้ต้มน้ำดื่มเช้า กลางวัน เย็น กลิ่นและรสของตะไคร้ ช่วยทำให้อาการของหืดทุเลาลง และหายได้ในที่สุด
๗. ขับเหงื่อได้ดี เมื่อเกิดครั้นเนื้อครั่นตัว ไม่สบาย อึดอัด เอาตะไคร้ ต้มน้ำดื่มสัก ๑ แก้วอุ่นๆ พอเหงื่อออก จะรู้สึกสบายเนื้อสบายตัว (ตะไคร้เอาทั้งใบและต้น)
๘. ลดความดันโลหิตสูง เอาใบตะไคร้ต้มน้ำดื่ม สัก ๑ แก้ว เช้า กลางวัน เย็น ดื่มไปเรื่อยๆ ๕-๗ วัน ความดันจะเข้าสู่ปกติ
๙. แก้นิ่ว รากตะไคร้ล้างสะอาด ๑ กำมือ ต้มน้ำ เคี่ยวจนงวด ดื่มเช้า กลางวัน เย็น ครั้งละครึ่งแก้ว





กระเจี๊ยบแดง

ชื่อพื้นเมืองอื่น:

ชื่อสามัญ: Roselle; Jamaica sorrel

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus sabdariffa L.

ชั้น: Magnoliopsida

ตระกูล: Malvales

ชื่อวงศ์: MALVACEAE

ประเภท: ไม้ล้มลุก


สรรพคุณ: แก้พยาธิตัวจี๊ด (ราก ดอก ผล และลำต้น), ละลายเสมหะ (ใบ, ดอก), แก้ไอ (ใบ, ดอก), ขับเมือกมันในลำไส้ (ใบ, ดอก), ทำให้โลหิตไหลเวียนดี (ใบ), ช่วยย่อยอาหาร (ใบ), หล่อลื่นลำไส้ (ใบ), ขับปัสสาวะ (ใบ, ดอก), ยาระบาย (ใบ), ลดไขมันในเลือด (ดอก, ผล), ลดไข้ (ดอก), ขับน้ำดี (ดอก), ลดความดันโลหิต (ผล, ดอก), บำรุงกำลัง (ผล) หรือสมานแผลในกระเพาะ (ผล)



วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กระชาย



ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.,Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.,Gastrochillus panduratus (Ridl.) Schltr.
ชื่อวงศ์ Zingiberaceae
ชื่ออังกฤษ -
ชื่อท้องถิ่น กะแอน, ขิงทราย, จี๊ปู, ซีฟู, เป๊าะซอเร้าะ, เป๊าะสี่, ระแอน, ว่านพระอาทิตย์
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1. ฤทธิ์ขับลม
กระชายมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีฤทธิ์ขับลม
2. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
กระชายสามารถลดการบีบตัวของลำไส้หนูตะเภา และหนูขาว โดยกระชายมีสาร cineole มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุการปวดเกร็งได้
3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด
กระชายสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ซึ่งเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด โดยกระชายมีสาร pinostrobin และ panduratin A มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้
4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ กระชายสามารถลดการอักเสบ โดยกระชายมีสาร 5, 7-dimethoxyflavone มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ postaglandin และ pinostrobin มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบได้
5. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
5.1 การศึกษาความเป็นพิษ
จาก hippocratic screening เมื่อใช้ dimethoxyflavone จากกระชายในขนาด 3 ก./กก. (10 เท่าของขนาดรักษาการอักเสบ) พบพิษต่ำมาก และไม่พบการตายในหนูถีบจักร โดยทำการสังเกตใน 7 วัน แต่จะลดการหายใจ และอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากการกดประสาทส่วนกลาง
5.2 พิษต่อเซลล์
สารสกัดเมทานอลของกระชายความเข้มข้น 20 มคก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ Raji
5.3 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดรากกระชายกับน้ำร้อนและน้ำในขนาด 0.5 ซี.ซี./แผ่น ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ B. Subtilis ทั้ง 2 สายพันธุ์ H-17 (Rec+) และ M-45 (Rec-) รวมทั้งเมื่อใช้น้ำคั้นจากรากสดก็ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ แต่จะเสริมฤทธิ์ของสาร a-amino-3, 8-dimethylimindazo (4, 5-¦) quinoxaline ในการก่อมะเร็งในตับ นอกจากนี้สาร pinocembrin chalone, pinocembrin, cardamonin และ pinostrobin จากกระชายมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์

การใช้กระชายรักษาอาการแน่นจุกเสียด
นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือต้มเอาน้ำดื่ม

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ยาสมุนไพรไทย

แก้ปวดฟัน




กานพลู

ใช้กานพลูตำพอแหลก ผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอเละใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด โดยใช้สำลีพันปลายไม้จิ้มฟันชุบน้ำมันกานพลู ทาบริเวณเหงือก และจิ้มลงไปในรูฟันซี่ที่ปวดจะทำให้อาการปวดค่อยยังชั่วขึ้น




ผักคราดหัวแหวน


นำก้านสด(ก้านช่อดอก)มาเคี้ยวตรงบริเวณฟันซี่ที่ปวดเพื่อให้น้ำจากก้านช่อดอก ซึมเข้าไปตรงฟันที่ปวดจะทำให้รู้สึกชาระงับอาการปวดฟันได้ดีถ้าฟันซี่ที่ปวดผุเป็นรู ให้ใช้วิธีตำหรือขยี้ก้านช่อดอกให้เละแล้วนำไปอุดรูฟันซี่ที่ปวด สักครู่จะรู้สึกชาหายปวดได้

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ยาสมุนไพรไทย

'ฟ้าทะลายโจร' ยาสมุนไพรบรรเทาอาการหวัด


คนไทยส่วนจะนิยมนำสมุนไพรที่มีชื่อว่า "ฟ้าทะลายโจร" ในการบรรเทาอาการไข้หวัด สำหรับฟ้าทะลายโจร เป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยโบราณและได้รับการยอมรับเป็นสมุนไพรแห่งปี ในปัจจุบันมีการนำฟ้าทะลายโจรมาทำเป็นยาลูกกลอน หรือใส่แคปซูลเพื่อความสะดวกในการกิน ขณะนี้ต้นฟ้าทะลายโจรได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศไทย มีผู้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยถึงสรรพคุณยา และได้พบสารเคมีในส่วนต่างๆ ของพืชอยู่หลายชนิด รวมทั้งสาร Andrographolide ที่เป็นตัวยาสำคัญที่มีอยู่ในทุกส่วนคือ ราก ต้น ใบของฟ้าทะลายโจร และได้ทำการศึกษาทดลองเพื่อจำแนกโรคที่รักษาได้ดีให้ชัดเจน ซึ่งพบว่าฟ้าทะลายโจรรักษาโรคเหล่านี้ได้คือ แก้ติดเชื้อทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ แก้อาการไอ เจ็บคอ หรือคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ แก้ไข้ทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นยาขมเจริญอาหาร เป็นต้น
ฟ้าทะลายโจร
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ฟ้าทะลาย, น้ำลายพังพอน, ยากันงู, ฟ้าลาง, เมฆทะลาย, ฟ้าสะท้าน, สามสิบดี, ดีปังฮี (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm) Nees
จัดอยู่ในวงศ์ : Acanthaceaeลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว มีรอบประสีม่วงแดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ราก ใบ ทั้งต้นการปลูกใช้เมล็ดโรยลงดิน กลบดินไม่ต้องลึกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม มักนิยมปลูกตอนต้นฤดูฝน ไม่ชอบแดดจัดมาก หากอยู่ในที่แจ้งต้นจะเตี้ยใบเล็กหนา และในที่ร่มต้นจะสูง ใบใหญ่แต่บาง ควรปลูกในที่ไม่ร่มและไม่แจ้งนัก ในฤดูฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ในฤดูแล้งควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าปลูกขึ้นได้หนึ่งต้นจนมีฝักแก่ เมล็ดจะกระจายออกไปขึ้นทั่วจนต้องถอนทิ้งบ้าง
ประโยชน์ในการรักษา1.ใช้รักษาอาการเจ็บคอ
2.ใช้แก้อาการท้องเสีย และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
3.บรรเทาอาการหวัดและเสริมภูมิต้านทาน ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นหายจากหวัด ภูมิแพ้ที่มักเป็นบ่อยๆ ให้หายเร็วขึ้น
4.ใช้เป็นยาภายนอกเป็นยาพอกฝี
รักษาแผลที่เป็นหนองวิธีการนำไปใช้
1.ใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างสะอาด สับเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้งแก้เจ็บคอ ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้ 2-3 กำมือ
2.ใช้ในรูปยาลูกกลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาดผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทานครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน3.ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูปยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในรูปยาแคปซูล
4.ใช้ในรูปยาดองเหล้า นำใบฟ้าทะลายโจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในขวดแก้ว แช่ด้วยเหล้าโรงพอท่วมยา ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดหรือคนยาวันละครั้ง เมื่อครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร
5.ใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ ตำผสมเกลือเล็กน้อย เติมเหล้าครึ่งถ้วยยา น้ำครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันดี รินเอาน้ำดื่ม กากที่เหลือใช้พอกแผล-ฝี แล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่สำคัญคือ ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีความดันต่ำและมีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย บางคนเมื่อกินยาฟ้าทะลายโจรแล้วมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย เวียนหัว หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ซึ่งควรหยุดยาทันที ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไป