วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551


...ว่านหางจระเข้ ...

ชื่อวิทยาศาสตร์Aloe vera Linn. var. chinensis (Haw.) Berg
วงศ์ALOACEAE
ลักษณะไม้ล้มลุม อายุหลาสยปี สูง 0.5 - 1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5 - 12 ซม. ยาว 0.3 - 0.8 เมตร อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใสใต้ผิวสีเขียว มีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อย เป็นหลอด ห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้


สารสำคัญสารที่ออกฤทธิ์ เป็นสาร กลัยโคโปรตีน ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มหารเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่าย เมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง
ส่วนที่ใช้ วุ้นจากใบ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงอายุ 1 ปี
รสและสรรพคุณยาไทยรสจืดเย็น โบราณใช้ทาปูนแดงปิดขมับแก้ปวดศีรษะ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
วิธีใช้ใช้วุ้นรักษาแผลสด แผลเรื้อนัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และการฉายรังสี โดยเลือกวุ้น จากใบที่อยู่ส่วนล่างของต้น ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างยางสีเหลืองออกให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุก หรือน้ำด่างทับทิม เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใส หรือฝานเป็นแผ่นบาง มาพอกแผล แล้วใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ ให้ชุ่มอยู่ตลอดเวลาในชั่วโมงแรก ต่อจากนั้นทาวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าแผลจะหาย วุ้นว่านหางจระเข้ยังสามารถ ใช้รักษาฝีพุพอง ได้ด้วย เพราะช่วยลดการอักเสบ

ข้อควรระวัง
1) ก่อนใช้ว่าน ควรทดสอบการแพ้ก่อน โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้
2) ควรล้างยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะจะเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวได้





ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn.
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อท้องถิ่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้หมิ้น หมิ้น (ใต้) ตายอ (กะเหรียง-กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 30 - 90 ซม. เหง้าใต้ดินส่วนตรงกลางมีขนาดใหญ่รูปไข่ มีแขนงรูปทรงกระบอก แตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงข้ามกันคล้ายนิ้วมือ เนื้อในเหง้าสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงเป็นวงซ้อนทับกัน รูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบรูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน หรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผลเป็นผลแห้ง รูปกลม มี 3 พู


สารสำคัญมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 3-4% และ เคอร์คิวมิน (Curcumin) ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า bis-(4-hydroxy-3-methoxycinnamoyl)-methane, sodium curcuminate ฤทธิ์แก้ท้องอืดเกิดจากน้ำมันหอมระเหย เคอร์คิวมิน และสารอื่นๆ อีกหลายชนิด พบว่า เคอร์คิวมิน มีฤทธิ์ ยับยั้งการเจริญเติบโต และลดการใช้กลูโคสของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ จึงลดการเกิดก๊าซลงด้วย พบว่า เคอร์คิวมิน และ p-tolyl methyl-carbinol สามารถเพิ่ทเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร และขับน้ำดี และ เคอร์คิวมิน น่าจะป็นสารออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่ง secretin และ gastrin ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้มี การหลั่งน้ำดีมากขึ้นด้วย เป็นผลให้การย่อยอาหารดีขึ้น ยังพบว่า เคอร์คิวมิน, p-coumaaroyl feruloyl methane และ di-p-coumaroyl methane มีฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบเนื่องจากสารพิษ ด้วย จะเห็นว่าฤทธิ์ในการรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้องของขมิ้นชัน เกิดจากสารสำคัญหลายชนิด และกลไกหลากหลาย

ข้อควรระวัง
- ไม่ควรชื้อผงขมิ้นชันตามท้องตลาด ควรทำเอง เพราะขมิ้นผงที่ขายในท้องตลาดส่วนมากทำจากขมิ้นอ้อย และกรรมวิธีในการทำมักใช้ความร้อน ซึ่งจะทำให้น้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์รักษาโรคระเหยไป - บางคนอาจแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นใส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยาในทันที
ส่วนที่ใช้ เหง้าสดและแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเมื่อขมิ้นอายุราว 7-9 เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม ท้องร่วง รักษาโรคกระเพาะอาหาร
วิธีใช้ ขมิ้นชันใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารโดยการใช้เหง้าแก่สด ล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดประมาณ 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูล เก็บไว้ในขวดสะอาดและมิดชิด รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

ไม่มีความคิดเห็น: