วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กระชาย



ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.,Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.,Gastrochillus panduratus (Ridl.) Schltr.
ชื่อวงศ์ Zingiberaceae
ชื่ออังกฤษ -
ชื่อท้องถิ่น กะแอน, ขิงทราย, จี๊ปู, ซีฟู, เป๊าะซอเร้าะ, เป๊าะสี่, ระแอน, ว่านพระอาทิตย์
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1. ฤทธิ์ขับลม
กระชายมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีฤทธิ์ขับลม
2. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
กระชายสามารถลดการบีบตัวของลำไส้หนูตะเภา และหนูขาว โดยกระชายมีสาร cineole มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุการปวดเกร็งได้
3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด
กระชายสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ซึ่งเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด โดยกระชายมีสาร pinostrobin และ panduratin A มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้
4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ กระชายสามารถลดการอักเสบ โดยกระชายมีสาร 5, 7-dimethoxyflavone มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ postaglandin และ pinostrobin มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบได้
5. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
5.1 การศึกษาความเป็นพิษ
จาก hippocratic screening เมื่อใช้ dimethoxyflavone จากกระชายในขนาด 3 ก./กก. (10 เท่าของขนาดรักษาการอักเสบ) พบพิษต่ำมาก และไม่พบการตายในหนูถีบจักร โดยทำการสังเกตใน 7 วัน แต่จะลดการหายใจ และอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากการกดประสาทส่วนกลาง
5.2 พิษต่อเซลล์
สารสกัดเมทานอลของกระชายความเข้มข้น 20 มคก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ Raji
5.3 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดรากกระชายกับน้ำร้อนและน้ำในขนาด 0.5 ซี.ซี./แผ่น ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ B. Subtilis ทั้ง 2 สายพันธุ์ H-17 (Rec+) และ M-45 (Rec-) รวมทั้งเมื่อใช้น้ำคั้นจากรากสดก็ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ แต่จะเสริมฤทธิ์ของสาร a-amino-3, 8-dimethylimindazo (4, 5-¦) quinoxaline ในการก่อมะเร็งในตับ นอกจากนี้สาร pinocembrin chalone, pinocembrin, cardamonin และ pinostrobin จากกระชายมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์

การใช้กระชายรักษาอาการแน่นจุกเสียด
นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือต้มเอาน้ำดื่ม