วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ตะไคร้
ชื่อวิทย์ Cymbopogon citratus Stapt
ชื่อวงศ์ GRAMINAE
ชื่ออื่น จะไคร(เหนือ), ไคร(ใต้), คาหอม(แม่ฮ่องสอน), หัวสิงโต(เขมรปราจีณ บุรี)

สรรพคุณ
ใบต้น เหง้าทั้งต้น หอมปร่า, ลดความดันโลหิต รสหอมปร่า ขับลม แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่ว ดับกลิ่นคาวเจริญอาหารรสหอมปร่า แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุ แก้กระษัย ขับลมใน ลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่วรสหอมปร่า แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ


ความลับของตะไคร้
๑. แก้ปวดมวนท้องไส้ ตะไคร้ ๓ ต้น ตัดต้นตัดใบดอกออก ล้างให้ สะอาด คั้นน้ำดื่มสัก ๑ ถ้วยตะไล
๒. ขับปัสสาวะ ตะไคร้ ๓ ต้นคั้นน้ำดื่ม ๑ ถ้วยตะไล ดื่มเช้าเย็น อาการ ปัสสาวะ ไม่ปกติจะทุเลาลง
๓. ขับลมในลำไส้ เอาตะไคร้มาโขลกคั้นน้ำดื่ม
๔. บำรุงไฟธาตุ ไฟธาตุไม่ดีพอ อึดอัดท้องไส้ ระบบทางเดินอาหารไม่ ปกติ(ไฟธาตุพิการ) เอาน้ำตะไคร้คั้นน้ำดื่ม ๑ ถ้วยตะไล หรือใช้ตะไคร้ต้ม กับน้ำดื่ม เช้า กลางวัน เย็น ไฟธาตุจะทำงานได้ตามปกติ
๕. เจริญอาหาร เอาตะไคร้สัก ๕ ต้น ล้างสะอาดทุบพอแตกต้มน้ำดื่ม ก่อนอาหาร เช้า เย็น จะหายจากการเบื่ออาหาร
๖. แก้โรคหืด ตะไคร้ต้มน้ำดื่มเช้า กลางวัน เย็น กลิ่นและรสของตะไคร้ ช่วยทำให้อาการของหืดทุเลาลง และหายได้ในที่สุด
๗. ขับเหงื่อได้ดี เมื่อเกิดครั้นเนื้อครั่นตัว ไม่สบาย อึดอัด เอาตะไคร้ ต้มน้ำดื่มสัก ๑ แก้วอุ่นๆ พอเหงื่อออก จะรู้สึกสบายเนื้อสบายตัว (ตะไคร้เอาทั้งใบและต้น)
๘. ลดความดันโลหิตสูง เอาใบตะไคร้ต้มน้ำดื่ม สัก ๑ แก้ว เช้า กลางวัน เย็น ดื่มไปเรื่อยๆ ๕-๗ วัน ความดันจะเข้าสู่ปกติ
๙. แก้นิ่ว รากตะไคร้ล้างสะอาด ๑ กำมือ ต้มน้ำ เคี่ยวจนงวด ดื่มเช้า กลางวัน เย็น ครั้งละครึ่งแก้ว





กระเจี๊ยบแดง

ชื่อพื้นเมืองอื่น:

ชื่อสามัญ: Roselle; Jamaica sorrel

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus sabdariffa L.

ชั้น: Magnoliopsida

ตระกูล: Malvales

ชื่อวงศ์: MALVACEAE

ประเภท: ไม้ล้มลุก


สรรพคุณ: แก้พยาธิตัวจี๊ด (ราก ดอก ผล และลำต้น), ละลายเสมหะ (ใบ, ดอก), แก้ไอ (ใบ, ดอก), ขับเมือกมันในลำไส้ (ใบ, ดอก), ทำให้โลหิตไหลเวียนดี (ใบ), ช่วยย่อยอาหาร (ใบ), หล่อลื่นลำไส้ (ใบ), ขับปัสสาวะ (ใบ, ดอก), ยาระบาย (ใบ), ลดไขมันในเลือด (ดอก, ผล), ลดไข้ (ดอก), ขับน้ำดี (ดอก), ลดความดันโลหิต (ผล, ดอก), บำรุงกำลัง (ผล) หรือสมานแผลในกระเพาะ (ผล)